PSK Clinic คลินิกสุขภาพทางเพศ บริการตรวจรักษาและให้คำปรึกษา

บริการที่เกี่ยวข้อง

โรค Mpox ฝีดาษลิง เอ็มพ็อกซ์ คืออะไร

สถานการณ์ของโรคเอ็มพอกซ์ (Mpox) ในปัจจุบัน?

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 องค์การอนามัยโลก (World Health Organisation) ได้ประกาศ “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เกี่ยวกับการระบาดของโรคเอ็มพอกซ์ (Mpox) หรือ โรค “ฝีดาษลิง” (monkeypox) ในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกา ซึ่งขณะนี้กลายเป็นความน่ากังวลสำหรับนานาชาติเนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade Ib ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดในทวีปแอฟริกามากถึง 500 คน ล่าสุดวันที่ 21 สิงหาคม 2567 กระทรวงสาธารณะสุข รายงานพบผู้ป่วยฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade Ib รายแรกของประเทศไทย ซึ่งเดินทางมาจากประเทศคองโก

สายพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบันแตกต่างจากสายพันธุ์ที่มีการระบาดในอดีตอย่างไร?

การระบาดของโรคเอ็มพอกซ์ (Mpox)ในทวีปแอฟริกาในปัจจุบันเป็นสายพันธุ์  Clade Ib ซึ่งเแตกต่างจากการระบาดในอดีตที่เป็นการระบาดของสายพันธุ์ Clade II

โดยสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน (Clade Ib) มีความรุนแรงในการก่อโรคสูง และมีอัตราการตายมากถึง 10% นอกจากนี้ยังสามารถติดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ที่ระบาดในอดีต เนื่องจากสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่เป็นโรคฝีดาษลิงโดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์

อาการของโรคเอ็มพอกซ์ (Mpox)

ผู้ที่ได้รับเชื้อเอ็มพอกซ์จะนำมาด้วยอาการ มีไข้, ปวดศีรษะ, ปวดหลัง, ปวดกล้ามเนื้อ และหลังจากที่ไข้เริ่มลดลงจึงจะเข้าสู่ระยะของการเกิดผื่น โดยเริ่มต้นเกิดขึ้นที่ใบหน้า จากนั้นจึงลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย จะมีอาการคันและอาการเจ็บปวดบริเวณที่เป็นผื่นร่วมด้วย ซึ่งผื่นจะพัฒนากลายเป็นตุ่มหนอง และแตกออกจนตกสะเก็ด การติดเชื้อทั่วไปจะหายได้เองและมักจะมีระยะเวลาของการติดเชื้อจะอยู่ระหว่าง 14-21 วัน

การแพร่กระจายของเชื้อเอ็มพอกซ์

เชื้อเอ็มพอกซ์สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสแผลหรือสารคัดหลั่ง การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางแผล, ทางเดินหายใจ, ตา, จมูกหรือปาก นอกจากนี้ยังสามารถติดเชื้อจากการสัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุที่ปนเปื้อนไวรัสได้อีกด้วย

เราสามารถป้องกันการติดเชื้อเอ็มพอกซ์ (Mpox) ได้อย่างไร?

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้วัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อเอ็มพอกซ์ ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันการระบาดของโรคเอ็มพอกซ์ได้ดีที่สุดในตอนนี้

นอกจากนี้การไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ การล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ รวมถึงการใส่หน้าการอนามัย ยังเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดการติดเชื้อเอ็มพ็อกซ์ ได้อีกด้วย

อ้างอิง

  • https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/monkeypox
  • https://www.bbc.com/thai/articles/c990n2ngmn8o
  • https://www.thaihealth.or.th/?p=369432

PSK Clinic คลินิกสุขภาพเพศ พร้อมให้บริการตรวจและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

สอบถามเพิ่มเติมหรือทำนัดปรึกษาแพทย์ได้ที่