บริการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี พร้อมแนวทางการรักษาที่ถูกวิธี
ไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร?
ไวรัสตับอักเสบซีเป็นหนึ่งในไวรัสที่ก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งสามารถพบการติดเชื้อได้ในทุกเพศทุกวัย อาการทั่วไปของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีระยะเฉียบพลัน จะมีไข้สูง ตัวเหลืองตาเหลือง ร่วมกับมีค่าการทำงานของตับที่สูงมากกว่าปกติ โดยหลังจากที่ติดเชื้อในระยะเฉียบพลัน ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจะสามารถดำเนินโรคไปสู่ระยะเรื้อรังได้
นอกจากนี้เชื้อไวรัสตับอักเสบซียังเป็นสารก่อมะเร็งตับ
หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจนเข้าสู่ระยะเรื้อรัง ภายใน 10 ปีหลังจากที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เชื้อไวรัสยังสามารถดำเนินโรคไปเป็นมะเร็งตับได้อีกด้วย
โรคไวรัสตับอักเสบซีสามารถติดต่อได้จากทางไหนบ้าง?
- การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
- เด็กแรกเกิดติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
- การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักในกลุ่มของชายรักชายอีกด้วย
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจะมีอาการอย่างไร?
- ระยะเฉียบพลัน
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซีในระยะเฉียบพลันที่พบได้บ่อย ได้แก่ ไข้สูง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ปัสสาวะสีดำเข้ม อุจจาระสีเทา ปวดข้อ และตัวเหลืองตาเหลือง - ระยะเรื้อรัง
ประมาณ 70% ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในระยะเฉียบพลันจะสามารถดำเนินโรคเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีในระยะเรื้อรังได้ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีระยะเรื้อรังส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการ หรืออาจมีอาการที่ไม่เฉพาะต่อโรค เช่น อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง พบภาวะซึมเศร้า หรือมีภาวะค่าการทำงานตัวสูงผิดปกติเรื้อรังได้ นอกจากนี้ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในระยะเรื้อรังสามารถมีการดำเนินโรคไปเป็น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเสียชีวิตได้
การตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสามารถตรวจด้วยวิธีการใดบ้าง?
บริการตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบซีที่ PSK Clinic
ขั้นตอนการเตรียมตัว
- เข้าพบแพทย์เพื่อทำการปรึกษาและวินิจฉัย เพื่อรับทราบขั้นตอนและวิธีการตรวจรักษา
- แพทย์จะให้เก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยขั้นตอนทั้งหมดจะใช้เวลาเพียง 15-20 นาที
- ท่านจะทราบผลภายใน 45 นาทีหลังจากที่เจาะเลือด
คำถามที่พบบ่อย Frequent Ask Question (FAQs)
ไวรัสตับอักเสบซีมีอาการอย่างไร?
อาการที่เกิดขึ้นในระยะแรกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C) มักจะไม่รุนแรงหรือบางครั้งอาจไม่แสดงอาการเลย หากมีก็อาจเป็นอาการเบื้องต้นที่ไม่น่าสงสัยว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เช่น ระยะเฉียบพลัน (Acute Hepatitis C) จะมีอาการ อ่อนเพลีย, มีไข้, ปวดท้องท้องอืด, ปัสสาวะเข้ม เป็นต้น ซึ่งต้องควรระวังว่าโรคไวรัสตับอักเสบซีมักพัฒนาเป็นระยะเรื้อรังได้ โดยอาจใช้เวลานานกว่า 6 เดือน ถึง 10 ปี จึงแสดงความรุนแรงของอาการ ดังนั้นการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้รู้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีหรือไม่ และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมในเวลาอันรวดเร็ว
ไวรัสตับอักเสบซีอันตรายอย่างไร?
ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเนื่องจากไม่มีอาการ ส่งผลให้ผู้ป่วยปล่อยทิ้งโรคไวรัสตับอักเสบซีทิ้งไว้ จนกลายเป็นโรคตับอักเสบซีในระยะเรื้อรัง จนกระทั่งพัฒนาสู่โรคตับแข็ง ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 6 เดือน ถึง 10 ปี ทำให้ผู้ป่วยบางรายเข้าพบแพทย์เมื่อตนเองเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคตับแข็งแล้ว
ใครที่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี?
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสได้รับเชื้อ ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติได้รับเลือด เกร็ดเลือด หรือส่วนประกอบของเลือดก่อนปี พ.ศ. 2533 ผู้ที่เคยมีประวัติในการรับเลือดหรือเกร็ดเลือดจากกรณีเจ็บป่วย ได้รับการผ่าตัด หรือสูญเสียเลือดมาก กลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ที่เคยใช้ยาเสพติดชนิดฉีด ผู้ที่รับบริการสักตามร่างกาย และผู้ที่มีนิสัยเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
รู้ได้อย่างไรว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ทำโดยการตรวจเลือดหา Anti-HCV หากผลตรวจเป็นบวก แพทย์จะพิจารณาส่งตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีโดยตรง เช่น การตรวจดูปริมาณไวรัสและสายพันธุ์ไวรัส โดยการตรวจนี้จะช่วยในการรักษาและการจัดการกับโรคได้อย่างเหมาะสม
หลังจากการตรวจเลือด แพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจอัลตราซาวด์ตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (Fibroscan) เพื่อตรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพตับ และการประเมินภาวะตับแข็ง โดยการอัลตราซาวด์ตับนี้ช่วยในการวินิจฉัยพังผืดในตับ ไขมันพอกตับ รวมถึงภาวะตับแข็ง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาขั้นต่อไปในผู้ป่วยที่เสี่ยงหรือเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี