ทำความรู้จักกับโรคเริม
โรคเริม (Herpes simplex) คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ ไวรัสเฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex virus) ผ่านการสัมผัสโดยตรงบริเวณรอยแผลของผู้ที่ติดเชื้อเริม ดังนั้นจึงสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน เริมสามารถพบได้ในหลายตำแหน่งของร่างกาย เช่น ปาก, อวัยวะเพศ หรือทวาร เป็นต้น โดยอาการที่พบมีตั้งแต่ไม่แสดงอาการ จนถึงมีอาการคัน เจ็บ มีไข้ และเป็นตุ่มพุพอง เริมเป็นโรคที่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้หากมีปัจจัยมากระตุ้น เช่น ภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำลง ดังนั้นความรู้ความเข้าใจต่อโรคเริมถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก หากขาดความรู้ความเข้าใจที่ดี อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อตนเองและผู้คนรอบข้างได้
ชนิดของไวรัสเริม
เชื้อไวรัส เฮอร์ปีส ซิมเพล็กซ (Herpes simplex virus) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเริม ถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. Herpes simplex virus type I: HSV-1
ไวรัสเริมชนิดนี้จะแสดงรอยโรคบริเวณผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป เช่น ปาก ใบหน้า ลำตัว ทำให้เกิดผื่นแดง ตุ่มใน และแผลพุพอง ซึ่งเกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อไวรัส เช่น น้ำลาย เป็นต้น
2. Herpes simplex virus type II: HSV-2
สำหรับไวรัสเริมชนิดที่ 2 จะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อไวรัส จะแสดงรอยโรคบริเวณอวัยวะเพศ ทวาร ร่วมกับมีอาการคัน เจ็บ และเป็นแผลพุพอง
อาการของโรคเริม
เนื่องจากโรคเริมเป็นโรคที่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ความรุนแรงของอาการที่แสดงออกมาจึงมีระดับมากน้อยต่างกันขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยเป็นครั้งแรกหรือกลับมาเป็นซ้ำ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายคลึงกัน ดังนี้
- มีตุ่มน้ำขึ้นบริเวณกว้าง ร่วมกับอาการคัน
- อาการปวดแสบปวดร้อน
- ปัสสาวะแสบขัด
- อาการตกขาวมีกลิ่นในผู้หญิง
- มีไข้ ตัวร้อน ปวดหัว
- ต่อมน้ำเหลืองโต
โดยเริมจะเกิดขึ้นบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกายขึ้นอยู่กับว่าคนไข้ติดเชื้อไวรัสชนิดไหนมา เช่น เกิดตุ่มใสบริเวณปาก ซึ่งเกิดจากไวรัส HSV-1 เกิดการคัน บวมแดงบริเวณอวัยวะเพศหรือทวารหนัก, ซึ่งเกิดจากไวรัส HSV-2
อาการของผู้เป็นโรคเริมครั้งแรก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเริมครั้งแรกจะมีระยะฟักตัวของเชื้อประมาณ 3-7 วัน โดยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่ถ้าแสดงอาการก็จะมีความรุนแรงกว่าปกติ ซึ่งพบได้ตั้งแต่การเกิดขึ้นของตุ่มน้ำหลายตุ่ม บริเวณกว้าง จากนั้นจะแตกกลายเป็นแผล ทำให้เกิดอาการเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน รวมไปถึงอาจมีไข้ ปวดหัว ต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย
อาการของผู้ที่กลับมาเป็นโรคเริมซ้ำ
ในส่วนของผู้ป่วยที่กลับมาเป็นโรคเริมซ้ำ มักจะมีความรุนแรงของอาการน้อยกว่าการเป็นครั้งแรก ทั้งรอยโรคเช่น ตุ่มน้ำที่เล็กกว่า จำนวนน้อยกว่าครั้งแรก มีอาการคันเล็กน้อย ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหัว เป็นไข้ หรือต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งอาการเหล่านี้ผู้ป่วยหลายคนอาจจะมองข้าม จนทำให้เกิดการระบาดสู่ผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจได้
สาเหตุของการกลับมาเป็นโรคเริมซ้ำ
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าโรคเริมสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้หากเจอกับปัจจัยกระตุ้น โดยปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้กลับมาซ้ำ ได้แก่
- ภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำลง
- ความเครียด
- อยู่ท่ามกลางแสงแดดนาน ๆ
- การเจ็บป่วยจากโรคอื่นอันส่งผลให้ภูมิลดต่ำ
- เส้นประสาทได้รับการกระทบกระเทือน
- การได้รับยากดภูมิ
การติดต่อแพร่เชื้อของโรคเริม
โรคเริมติดต่อผ่านการสัมผัสกับผิวหนังของผู้ป่วยบริเวณที่แสดงอาการ, การใช้ภาชนะหรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น หลอดดูดน้ำ, แก้วน้ำ สามารถแพร่เชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้สวมใส่ถุงยาง รวมไปถึงการทำออรัลเซ็กส์ (Oral Sex) อีกทั้งยังมีการพบการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก ซึ่งเกิดขึ้นจากแม่ที่ติดเชื้อเริมในช่วงตั้งครรภ์ และแพร่เชื้อสู่ลูกผ่านการคลอดบุตร
การตรวจวินิจฉัยโรคเริม
หากคุณสงสัยว่าตนเองมีแนวโน้มที่อาจจะเป็นโรคเริม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี เนื่องจากรอยโรคที่เป็นแผลที่อวัยวะเพศไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคเริมเสมอไป โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจบริเวณที่เกิดตุ่มใส หรือแผลของเริมว่ามีลักษณะอย่างไร จากนั้นแพทย์จะทำการทดสอบทางแล็บที่เรียกว่า PCR test (Polymerase chain reaction test) ซึ่งเป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อในสารคัดหลั่ง ซึ่งวิธีการนี้มีความแม่นยำในการตรวจหาเชื้อและระบุชนิดของไวรัส
วิธีการรักษาโรคเริม
หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องแล้ว แพทย์จะทำการรักษาด้วยการให้ยาต้านไวรัสเพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส HSV ร่วมกับยาระงับความเจ็บปวดเพื่อทำให้อาการของโรคเริมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ที่เป็นโรคเริมน้อยที่สุด ยาที่ใช้ในการรักษาโรคเริม ได้แก่
- ยาต้านไวรัส HSV ได้แก่ Acyclovir, Valacyclovir, Famciclovir
- ยาระงับความเจ็บปวดชนิดรับประทาน เช่น Paracetamol, ยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs
- ยาฆ่าเชื้อแบบทาชนิดครีมหรือขี้ผึ้ง เช่น Mupirocin, Fucidin
สำหรับการใช้ชีวิตในช่วงที่มีรอยโรคของโรคเริม แพทย์แนะนำให้มีการแยกของใช้ส่วนตัวออกจากผู้อื่น เนื่องจากโรคเริมสามารถติดได้ทางสัมผัส การทานอาหารร่วมกัน การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน
วิธีการป้องกันโรคเริม
วิธีการป้องกันโรคเริมที่ดีที่สุดคือ การงดมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีรอยโรคของโรคเริม เช่น มีแผลเริมที่อวัยวะเพศ มีแผลเริมที่ปาก เนื่องจากผู้ที่มีรอยโรคเริมสามารถแพร่เชื้อให้กับคู่ผ่านทางการจูบ การทานอาหารร่วมกัน และการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ยังสามารถช่วยป้องกันการรับเชื้อเริมจากอีกฝ่ายได้มากกว่า 80%
ในส่วนของผู้ที่เคยเป็นโรคเริมนั้น ควรทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรง เช่น หมั่นทำความสะอาดร่างกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และการพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อรักษาระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงคงที่ และช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการกลับมาเป็นโรคเริมซ้ำ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
PSK Clinic
Move Amaze ลาดพร้าว 19
เวลา: 11.00-20.00
โทร: 095-049-4142
Line: @pskclinic
คำถามที่พบบ่อย Frequent Ask Question (FAQs)
เริม มีอาการอย่างไร?
- ระยะแรก (Primary Infection)
ในระยะแรกของการติดเชื้อ HSV โดยทั่วไปจะไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยเพียงหน่อย เมื่อมีอาการก็จะเป็นเรื่องของการคันและรู้สึกเจ็บบริเวณที่ติดเชื้อ และอาจมีอาการปวดได้
- ระยะอาการรุนแรง (Symptomatic Shedding)
ระยะนี้มักเกิดขึ้นระหว่างการป่วยหรือแสดงอาการอื่น ๆ โดยมีอาการของตุ่มน้ำพองใสที่อุดมไปด้วยเลือดและมีเจ็บปวด และบางครั้งอาจมีไข้เบา ๆ ร่วมด้วย
- ระยะซ่อนเร้น (Latency Period)
หลังจากอาการรุนแรงลดลง แต่เชื้อไวรัส HSV ยังคงติดอยู่ในระบบประสาทและมีการหลับในช่วงเวลานี้ ซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการอะไร
- ระยะเริ่มต้นใหม่ (Reactivation or Recurrence)
เมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง หรือเป็นผลจากสถานการณ์ที่เร้าร้อน ความเครียด หรือโรคอื่น ๆ การเป็นหนังโตเริ่มมีอาการแสดงขึ้นอีกครั้ง โดยมักจะมีตุ่มน้ำพอง อาการคัน และเจ็บปวดออกมา
โรคเริม กลับมาเป็นซ้ำได้หรือไม่?
ข้อมูลเกี่ยวกับการเริ่มต้นโรคเริมที่กลับมาเป็นซ้ำภายใน 7 วันหลังจากการเป็นครั้งแรกนั้นไม่แน่นอน การเกิดอาการที่รุนแรงน้อยลงและอาการหายเร็วขึ้นในการเป็นโรคเริ่มครั้งต่อไปเมื่อเปรียบเทียบกับการเป็นครั้งแรกนั้นเป็นเรื่องที่มีความจริงอยู่จริง โรคเริมมักจะมีอาการที่เบาลงและระยะเวลาที่เป็นโรคย่อมเรียกว่าระยะซ้ำเล็กน้อยกว่าระยะครั้งแรก โดยการกระตุ้นการกลับมาของโรคเริมสามารถเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเครียด การทำงานอดิเรกหรือการทำกิจกรรมที่เป็นที่ร้อน การติดเชื้ออื่น ๆ หรือการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตามการกลับมาของโรคเริมที่เป็นซ้ำนั้นอาจมีความรุนแรงที่น้อยลงและหายเร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเป็นครั้งแรก สำหรับการรักษาโรคเริมที่กลับมาเป็นซ้ำ การใช้ยาต้านไวรัสเช่น อคิคลโวเวียร์ (Acyclovir) หรือวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) ที่ช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของอาการอาจถือเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับโรคเริมที่กลับมาเป็นซ้ำได้ โดยควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมกับสถานะและอาการของแต่ละบุคคล
ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เป็นโรคเริมซ้ำ
- ภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำลง
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ ซ้ำ หรือมีไข้สูง
- การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์
- การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ระหว่างมีประจำเดือน
- การผ่าตัดที่กระทบต่อเส้นประสาท
- อากาศร้อน การอยู่ท่ามกลางแสงแดด
- การขาดสารอาหาร
- ความเครียด
เริมในผู้หญิงและผุ้ชายต่างกันไหม
อาการของเริมที่อวัยวะเพศในผู้หญิงและชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันอย่างมาก โดยส่วนใหญ่จะมีคัน แผลพุพอง แผลบวมแดง และตุ่มน้ำพองใสขึ้นที่บริเวณที่ติดเชื้อ และอาจร่วมกับอาการเจ็บแปลบ ปวดแสบปวดร้อนคล้ายหนามทิ่มตำ รู้สึกไม่สบายตัว อาการปัสสาวะแสบขัดลำกล้อง เจ็บอวัยวะเพศขณะสอดใส่หรือมีเพศสัมพันธ์ และอาจมีไข้เป็นเครื่องมือช่วยในการช่วยวินิจฉัยโรคเริมที่อวัยวะเพศชายและหญิงในข้อแตกต่างทางกายภาพจากการทำประวัติระยะเวลาเริ่มต้นของอาการและลักษณะของผื่นบริเวณต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามการตรวจจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการข้างต้นเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสมต่ออาการของแต่ละบุคคล