PSK Clinic คลินิกสุขภาพทางเพศ บริการตรวจรักษาและให้คำปรึกษา

ตรวจและรักษาโรคซิฟิลิส

เลือกอ่านตามหัวข้อ

โรคซิฟิลิสคืออะไร?

โรคซิฟิลิส (Syphilis) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทรีโพนีมา พาลลิดัม (Treponema pallidum) สามารถพบได้ในเลือด, สารคัดหลั่ง, รวมไปถึงน้ำลาย โดยติดต่อผ่านการสัมผัสกับแผลซิฟิลิสโดยตรง ซึ่งมักเกิดที่บริเวณอวัยวะเพศ, ทวารหนักและปาก ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ หลังจากได้รับเชื้อซิฟิลิส เชื้อจะฟักตัวประมาณ 3 สัปดาห์ อาการของโรคซิฟิลิสแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ในระหว่างนี้ผู้ป่วยอาจมีหรือไม่มีอาการก็ได้ ปัจจุบันรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ หากผู้ป่วยปล่อยทิ้งไว้และไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็สามารถทำให้เกิดปัญหารุนแรงด้านสุขภาพตามมาได้ อีกทั้งแม่ที่เป็นโรคซิฟิลิสสามารถแพร่เชื้อสู่ลูกในครรภ์ได้ด้วย

อาการของโรคซิฟิลิส

การดำเนินโรคซิฟิลิสมีหลายระยะ ได้แก่ โรคซิฟิลิสระยะที่ 1 (Primary syphilis) โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 (Secondary syphilis) โรคซิฟิลิสระยะแฝง (Latent syphilis) และโรคซิฟิลิสระยะที่ 3 (Tertiary syphilis) ซึ่งในแต่ละระยะจะแสดงอาการและปรากฏแผลแตกต่างกันออกไป

ซิฟิลิสระยะที่ 1 (Primary syphilis)

ระยะนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 21 วัน หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อซิฟิลิส โดยจะเกิดแผลริมแข็ง (Chancre) มีลักษณะเป็นขอบแข็งนูน ก้นแผลสะอาด กดแล้วไม่เจ็บ เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศชายและอวัยวะเพศหญิง, รอบทวารหนัก, หรือปาก ส่วนมากจะปรากฏเพียง 1 แผล และจะหายไปเองภายใน 3-6 สัปดาห์ แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ได้รับการรักษาก็ตาม จากนั้นจะเข้าสู่โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 ต่อไป

ซิฟิลิสระยะที่ 2 (Secondary syphilis)

อาการของซิฟิลิสระยะที่ 2 คือ เกิดผื่นลักษณะสีแดงอ่อนบริเวณลำตัว, แขนและขา ร่วมกับมีผื่นวงกลม หรือวงรีสีแดงเข้มบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า (Roseola Syphilitica) นอกจากนี้อาจเกิดผื่นนูนแฉะ (Condyloma lata) บริเวณรอบอวัยวะเพศ, รอบทวารหรือปาก อีกทั้งผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เหมือนมอดแทะ (Moth-eaten alopecia) ร่วมด้วย อาการอื่น ๆ ที่อาจพบในระยะที่ 2 ได้แก่ มีไข้ต่ำ, ต่อมน้ำเหลืองโตกดแล้วเจ็บ, ปวดศีรษะ, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ,  อ่อนเพลีย, เจ็บคอ หากปล่อยไว้และไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง โรคซิฟิลิสจะดำเนินเข้าสู่ระยะแฝงต่อไป

ซิฟิลิสระยะแฝง (Latent syphilis)

ระยะแฝงนี้เชื้อซิฟิลิสสามารถอยู่ในร่างกายได้นานถึง 20 ปี โดยที่ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลย เช่น การเกิดแผลริมแข็ง, ผื่นสีแดง, ผื่นนูนแฉะ เป็นต้น จึงทำให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจผิด คิดว่าตนเองหายจากโรคซิฟิลิส หรือไม่ได้ติดเชื้อซิฟิลิส และแม้ว่าซิฟิลิสระยะแฝงนี้จะไม่แสดงอาการ แต่ผู้ที่ติดเชื้อยังคงสามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์

ซิฟิลิสระยะที่ 3 (Tertiary syphilis)

ซิฟิลิสระยะที่ 3 เป็นระยะที่อันตรายมาก เนื่องจากเชื้อซิฟิลิสที่กระจายอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน เริ่มลุกลามเข้าสู่ระบบต่าง ๆ ที่สำคัญในร่างกาย เช่น ระบบหัวใจ, ระบบหลอดเลือด, ระบบสมอง, ระบบประสาท รวมไปถึงกระดูกและข้อ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจโป่งพอง (Aortic aneurysm), ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว (Aortic regugitation) เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถก่อให้เกิดภาวะระบบต่าง ๆ ล้มเหลวจนทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคซิฟิลิสติดต่อได้อย่างไร?

โรคซิฟิลิสติดต่อผ่าน การสัมผัสโดนแผลซิฟิลิสโดยตรง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการทำออรัลเซ็กส์ (Oral sex) นอกจากนี้โรคซิฟิลิสยังแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ ทำให้เกิดโรคซิฟิลิสในเด็กแรกเกิด (Congenital syphilis) ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและอันตรายถึงชีวิต หรือก่อให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายของเด็ก ผู้ที่ได้รับเลือดจากผู้ที่ติดเชื้อซิฟิลิส ก็สามารถติดเชื้อซิฟิลิสได้เช่นกัน

โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด (congenital syphilis)

โรคซิฟิลิสแต่กำเนิดเกิดจากแม่ที่ติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการแพร่เชื้อสู่ลูกผ่านทางรก เมื่อทารกคลอดออกมาจะมีอาการแสดงที่แตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

  1. ระยะ Early-onset manifestation พบได้หลังจากคลอด 5 สัปดาห์ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ตัวซีด มีผื่น มีตุ่มน้ำใสวาวบริเวณฝ่ามือและเท้า เป็นต้น
  2. ระยะ Late-onset manifestation จะแสดงอาการหลังจากคลอด 2 ปี อาการที่พบบ่อย ได้แก่ หูหนวก ตาบอด ฟันมีลักษณะผิดปกติ จมูกมีลักษณะผิดปกติ (Syphilis nose) มีความผิดปกติของกระดูก เป็นต้น

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการติดต่อของเชื้อซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสไม่สามารถติดได้จากการสัมผัสวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ผู้ติดเชื้อซิฟิลิสใช้งาน เช่น อ่างอาบน้ำ ห้องน้ำ ลูกบิดประตู สระว่ายน้ำ การใช้เสื้อผ้า รวมถึงการรับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกัน เป็นต้น

บริการการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส

การตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสทำได้โดยการตรวจเลือด (Blood test) เพื่อตรวจหาแอนติบอดี้ (Antibody) ต่อเชื้อซิฟิลิสที่อยู่ในร่างกาย ปัจจุบันนิยมใช้วิธีการตรวจแบบย้อนทาง (Reverse algorithm) ซึ่งมีความแม่นยำและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถตรวจคัดกรองผู้ที่มีการติดเชื้อซิฟลิสมานาน เช่น ผู้ป่วยซิฟิลิสระยะแฝง เป็นต้น โดยแบ่งการตรวจออกเป็น 2 ชนิด

syphilis treatment

1. การตรวจคัดกรองซิฟิลิสในคนที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

 ใช้การตรวจ Anti-TP เพื่อตรวจยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิสว่ามีการติดเชื้อหรือไม่

  • หากผล Anti-TP แสดงผลลบ สามารถยืนยันได้ว่าไม่มีการติดเชื้อซิฟิลิส
  • หากผล Anti-TP แสดงผลบวก จะต้องทำการตรวจยืนยันอีกครั้งด้วยวิธี RPR เพื่อยืนยันว่ามีการติดเชื้อซิฟิลิสจริง
  • หากผล Anti-TP แสดงผลบวกและผล RPR แสดงผลลบ จะต้องตรวจยืนยันด้วยวิธี TPPA หรือ TPHA เพื่อตรวจยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิสในบุคคลนั้น โดยยึดเอาตามผลของการตรวจ TPPA หรือ TPHA ในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อซิฟิลิส

2. การตรวจคัดกรองในผู้ที่เคยเป็นโรคซิฟิลิส

ใช้การตรวจแบบ RPR (Rapid Plasma Reagin) เพื่อยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส เนื่องจากผู้ที่เคยติดเชื้อซิฟิลิสมาก่อน ผล Anti-TP, TPPA และ TPHA จะแสดงผลบวกไปตลอดชีวิต ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมจนหายแล้วก็ตาม

3. การตรวจคัดกรองซิฟิลิสด้วยวิธีการตรวจน้ำไขสันหลัง

หากผู้ป่วยอยู่ในขั้นซิฟิลิสระยะที่ 3 ที่เชื้อซิฟิลิสได้ลุกลามสู่ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงระบบประสาท ผู้ป่วยอาจถูกพิจารณาให้ตรวจคัดกรองด้วยวิธีการเจาะน้ำไขสันหลัง เพื่อนำน้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal fulid) ไปตรวจหาเชื้อซิฟิลิสและความผิดปกติต่อไป

การรักษาโรคซิฟิลิส

วิธีกการรักษาโรคซิฟิลิสจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค ซึ่งใช้การฉีดยาปฏิชีวนะเพนิซิลิน (Penicillin) เป็นหลัก

  • ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสระยะที่ 1, 2 และระยะแฝงช่วงต้น (Early latent syphilis) แนะนำให้ ฉีดยาเบนซาทีน เบนซิลเพนิซิลลินจี (Benzathine penicillin G) 2.4 ล้านยูนิตต่อ 1 ครั้ง แบ่งฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกข้างละ 1.2 ยูนิต
  • ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสระยะแฝงช่วงปลาย (Late latent syphilis) หรือผู้ป่วยซิฟิลิสที่ไม่ทราบระยะเวลาในการติด (Unknown duration of syphilis)  ฉีดยาเบนซาทีน เบนซิลเพนิซิลลินจี (Benzathine penicillin G) 2.4 ล้านยูนิต ติดต่อกัน 3 ครั้ง ครั้งละ 1 สัปดาห์​ แบ่งฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพก ข้างละ 1.2 ล้านยูนิต

ผลข้างเคียงหลังฉีดยารักษาโรคซิฟิลิส

ผู้ป่วยอาจมีไข้ รู้สึกหนาว มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย บางรายมีผื่นร่วมด้วย อาการข้างเคียงเหล่านี้เกิดจากปฏิกิริยา จาริช-เฮิร์กไซเมอร์ (Jarisch-Herxheimer Reaction) คือ ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำปฏิกริยากับเชื้อซิฟิลิสที่ตายไปแล้ว และอาการจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยสามารถกินยาลดไข้ เพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ แต่หากอาการยังไม่ทุเลาลง ให้รีบพบแพทย์เนื่องจากอาจสงสัยได้ว่าเกิดการแพ้ยาเพนิซิลิน

ยารักษาโรคซิฟิลิสแบบกิน

หากผู้ป่วยบางรายแพ้ยาเพนิซิลิน แพทย์จะแนะนำให้ทานยา โดยระยะเวลาของการทานยาขึ้นอยู่กับระยะของการดำเนินโรคเช่นกัน

  • ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสระยะที่ 1, 2 และระยะแฝง ทานยา Doxycycline 100 mg หลังอาหาร 2 ครั้งต่อวัน ติดต่อกัน 14 วัน 
  • ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสระยะที่ 3 ทานยา Doxycycline 100 mg หลังอาหาร 2 ครั้งต่อวัน ติดต่อกัน 28 วัน

โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถรักษาหายขาดได้ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้เช่นกัน ปัจจุบันการรักษาหลักยังคงเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยรักษาด้วยยาฉีดหรือยากิน ดังนั้นหากผู้ป่วยสังเกตตัวเองว่ามีอาการเข้าข่ายโรคซิฟิลิส ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอกงและรักษาอย่างถูกต้องโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ เท่านี้ผู้ป่วยก็สามารถหายจากโรคได้ แต่หากผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้ว กลับไปสัมผัสกับเชื้อซิฟิลิสอีกครั้ง ก็สามารถกลับมาเป็นโรคซิฟิลิสได้อีกเช่นกัน

การป้องกันตัวจากการติดเชื้อซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสติดต่อผ่านการสัมผัสกับแผลโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นทางปาก, อวัยวะเพศและทวารหนัก บ่อยครั้งจึงพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อซิฟิลิสมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ได้แก่

  • ใส่ถุงยางอนามัยป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • หากคู่นอนมีแผลซิฟิลิสบริเวณปาก, อวัยวะเพศ, หรือทวารหนัก ให้งดการมีเพศสัมพันธ์
  • งดการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคซิฟิลิสจนกว่าผู้ป่วยจะหาย
  • ควรตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

เราควรตรวจคัดกรองการติดเชื้อซิฟิลิสบ่อยแค่ไหน?

ถ้าคุณยังมีเพศสัมพันธ์อยู่เป็นประจำ เราแนะนำให้ตรวจคัดกรองการติดเชื้อซิฟิลิสทุก 3-6 เดือน หรือตรวจคัดกรองการติดเชื้อซิฟิลิสในกรณีที่คุณสงสัยว่ามีการติดเชื้อซิฟิลิสแล้ว เช่น มีแผลคล้ายโรคซิฟิลิสระยะที่ 1 หรือมีผื่นคล้ายโรคซิฟิลิสระยะที่ 2

โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเราสามารถติดเชื้อได้เพียงแค่การสัมผัสโดนบริเวณแผลซิฟิลิส ซึ่งมักเกิดที่บริเวณอวัยวะเพศ, ทวารหนักและปาก ทำให้ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสส่วนมากติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ดังนั้นควรป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และตรวจคัดกรองเชื้อซิฟิลิสเป็นประจำ หากต้องการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองหาเชื้อซิฟลิส เรา PSK Clinic ผู้ชำนาญการด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เราพร้อมให้คำปรึกษาและรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญการ เพื่อสุขอนามัยทางเพศที่ดีของทุกคน

คำถามที่พบบ่อย Frequent Ask Question (FAQs)

1.ป้องกันโรคซิฟิลิสได้อย่างไร?

การป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสได้มีวิธีหลายแบบดังนี้

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้องจะต้องใช้ตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งจบกิจกรรมทางเพศ โดยวิธีนี้สามารถป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสได้มากกว่า 90%

  • การพบแพทย์ทันที 

หากมีเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อซิฟิลิส เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยหรือเห็นแผลที่ปากหรืออวัยวะเพศ ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อประเมินความเสี่ยงและได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม

  • การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง 

การป้องกันการเลือกใช้พฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยในช่วงขณะหนึ่งของการมีเพสสัมพันธ์ การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และการหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

  • การแจ้งให้คู่รักทราบ

หากท่านติดเชื้อซิฟิลิส ควรแจ้งให้คู่นอนหรือคู่รักของท่านทราบเพื่อให้เขาเข้ารับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง

  • การตรวจสุขภาพเพศประจำ 

การตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานเป็นสิ่งสำคัญในการคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส

 

2.อาการ ซิฟิลิส ในผู้หญิง เป็นอย่างไร?

ซิฟิลิสในผู้หญิงมักจะมีอาการเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงการปวดและคัน โดยอาจมีอาการเมื่อสัมผัสแผล แต่อาการนี้อาจแตกต่างไปตามความรุนแรงของการติดเชื้อและสภาพร่างกายของผู้ป่วยที่ต่างกันไป โดยอาการของซิฟิลิสในผู้หญิงสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักได้ดังนี้

ซิฟิลิสที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศ

  • แผลหรือตุ่มแผลที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศภายนอกหรือภายใน
  • อาจจะรู้สึกเจ็บปวดหรือระคายเคืองเวลาที่ปัสสาวะ

ซิฟิลิสที่เกิดในช่องคลอดและปากมดลูก

  • มีอาการปวดหรือคันในช่องคลอด
  • มีตกขาวมากกว่าปกติ

 

3.อาการ ซิฟิลิส ในผู้ชาย เป็นอย่างไร?

อาการของซิฟิลิสในผู้ชายมักจะเกิดบริเวณอวัยวะเพศ หรือบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการที่เชื้อเข้าทำลายเนื้อเยื่อ อาการที่พบได้ประกอบด้วย

  • แผลซิฟิลิสที่ส่วนหัวองคชาติ (Glans Penis)

การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่บริเวณหัวองคชาติหรือรอบๆ

  • ส่วนลำองคชาติ (Shaft of the Penis)

การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่ส่วนลำองคชาติ

  • ใต้หนังหุ้มปลายองคชาติ (Foreskin)

การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่บริเวณใต้หนังหุ้มปลายองคชาติ

  • บริเวณรอบถุงอัณฑะ (Scrotum)

การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่บริเวณรอบถุงอัณฑะ

  • ทวารหนัก (Perineum)

การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่บริเวณทวารหนัก (ต่อมลูกสาว) หรือพื้นที่ระหว่างช่องปากอวัยวะเพศกับทวารหนัก

  • ขาหนีบ (Groin)

การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่บริเวณขาหนีบ

  • ภายในท่อปัสสาวะ (Urethra)

การเกิดแผลริมแข็งบริเวณส่วนปลายท่อปัสสาวะและมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะ

อ้างอิง:

คู่มือการตรวจวินิจฉัยและติดตามการรักษาโรคซิฟิลิสทางห้องปฏิบัติการ กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1126820210330151117.pdf

โรคซิฟิลิส กรมควบคุมโรค

https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=94 

โรคซิฟิลิส มหาวิทยาลัยมหิดล

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=883 

โรคซิฟิลิส โรงพยาบาลศิริราช

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/syphilis

PSK Clinic
ปรึกษาแพทย์หรือทำนัด
โทร 095 049 4142
แอดไลน์ @pskclinic

คำถามที่พบบ่อย Frequent Ask Question (FAQs)

ป้องกันโรคซิฟิลิสได้อย่างไร?

การป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสได้มีวิธีหลายแบบดังนี้

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
    การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้องจะต้องใช้ตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งจบกิจกรรมทางเพศ โดยวิธีนี้สามารถป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสได้มากกว่า 90%
  • การพบแพทย์ทันที
    หากมีเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อซิฟิลิส เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยหรือเห็นแผลที่ปากหรืออวัยวะเพศ ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อประเมินความเสี่ยงและได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม
  • การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง
    การป้องกันการเลือกใช้พฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยในช่วงขณะหนึ่งของการมีเพสสัมพันธ์ การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และการหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • การแจ้งให้คู่รักทราบ
    หากท่านติดเชื้อซิฟิลิส ควรแจ้งให้คู่นอนหรือคู่รักของท่านทราบเพื่อให้เขาเข้ารับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง
  • การตรวจสุขภาพเพศประจำ
    การตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานเป็นสิ่งสำคัญในการคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส

ซิฟิลิสในผู้หญิงมักจะมีอาการเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงการปวดและคัน โดยอาจมีอาการเมื่อสัมผัสแผล แต่อาการนี้อาจแตกต่างไปตามความรุนแรงของการติดเชื้อและสภาพร่างกายของผู้ป่วยที่ต่างกันไป โดยอาการของซิฟิลิสในผู้หญิงสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักได้ดังนี้

ซิฟิลิสที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศ

  • แผลหรือตุ่มแผลที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศภายนอกหรือภายใน
  • อาจจะรู้สึกเจ็บปวดหรือระคายเคืองเวลาที่ปัสสาวะ

ซิฟิลิสที่เกิดในช่องคลอดและปากมดลูก

  • มีอาการปวดหรือคันในช่องคลอด
  • มีตกขาวมากกว่าปกติ

อาการของซิฟิลิสในผู้ชายมักจะเกิดบริเวณอวัยวะเพศ หรือบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการที่เชื้อเข้าทำลายเนื้อเยื่อ อาการที่พบได้ประกอบด้วย

  • แผลซิฟิลิสที่ส่วนหัวองคชาติ (Glans Penis)
    การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่บริเวณหัวองคชาติหรือรอบๆ
  • ส่วนลำองคชาติ (Shaft of the Penis)
    การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่ส่วนลำองคชาติ
  • ใต้หนังหุ้มปลายองคชาติ (Foreskin)
    การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่บริเวณใต้หนังหุ้มปลายองคชาติ
  • บริเวณรอบถุงอัณฑะ (Scrotum)
    การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่บริเวณรอบถุงอัณฑะ
  • ทวารหนัก (Perineum)
    การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่บริเวณทวารหนัก (ต่อมลูกสาว) หรือพื้นที่ระหว่างช่องปากอวัยวะเพศกับทวารหนัก
  • ขาหนีบ (Groin)
    การเกิดแผลหรือแผลริมแข็งที่บริเวณขาหนีบ
  • ภายในท่อปัสสาวะ (Urethra)
    การเกิดแผลริมแข็งบริเวณส่วนปลายท่อปัสสาวะและมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะ