ยาเพร็พ (PrEP)
ยาเพร็พ (PrEP) คืออะไร?
ยาเพร็พ (PrEP) เป็นยาต้านไวรัสที่นำมาใช้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนที่จะมีความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือถุงยางขาด หลุดรั่ว ซึ่งยาเพร็พมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสูงถึง 99%
ยาเพร็พ (PrEP) เหมาะสำหรับใคร?
- ผู้ต้องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี กินก่อนมีเพศสัมพันธ์ สามารถใช้ได้กับทุกเพศที่ยังมีเพศสัมพันธ์อยู่
- ผู้ที่มีแนวโน้มไม่ใช้ถุงยางอนามัยระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
- ผู้ที่ทำงานที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี เช่น ชายหรือหญิงที่ให้บริการทางเพศ
วิธีการใช้ยาเพร็พมีกี่แบบ?
ยาเพร็พที่ใช้ในปัจจุบันเป็นยาต้านไวรัสชนิดเม็ดรวมที่ประกอบด้วยตัวยา 2 ชนิดคือ Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF) และ Emtricitabine (FTC)
วิธีการกินยาเพร็พนั้นมี 2 วิธี ได้แก่
ยาเพร็พแบบกินทุกวัน (Daily PrEP)
- ทุกเพศสามารถทานได้
- เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ล่วงหน้าได้ เช่น ผู้ที่ให้บริการทางเพศ
- มีประสิทธิภาพสูงสุดหลังจากเริ่มกินยาเพร็พไปแล้ว 7 วัน ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ถึง 99.9%
- กินยาวันละ 1 เม็ด เวลาเดิมทุกวัน
ยาเพร็พแบบกินเฉพาะเวลาที่จะมีเพศสัมพันธ์ (On-Demand PrEP)
- สามารถใช้ได้เฉพาะเพศชาย
- ไม่ต้องกินทุกวันเหมือน Daily PrEP
- กินแบบ 2-1-1 คือ กินยาเพร็พ 2 เม็ด ก่อนมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 ชั่วโมง และหลังจากที่มีเพศสัมพันธ์เสร็จเรียบร้อย ให้กินยาพร็พต่ออีก 2 วัน วันละ 1 เม็ดที่เวลาเดิม
- ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี 97-99%
ก่อนเริ่มยาเพร็พมีขั้นตอนอะไรบ้าง?
ผู้ที่ต้องการรับยาเพร็พ (PrEP) ต้องตรวจเลือดเพื่อดูความพร้อมในการรับยาเพร็พ โดยจะต้องตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตรวจค่าการทำงานของไตก่อนที่จะรับยาเพร็พในครั้งแรก หากมีผลการตรวจที่ผิดปกติ เช่น พบว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี พบว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือค่าการทำงานไตที่ลดลงมาก จะไม่สามารถใช้ยาเพร็พได้
ยาเพร็พมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?
อาการคลื่นไส้เล็กน้อยในช่วงแรกที่เริ่มยาเพร็พ (PrEP) โดยอาการจะดีขึ้นหลังจากที่กินยาไปแล้ว 3-5 วัน
ยาเป๊ป (PEP)
ยาเป๊ป (PEP) คืออะไร?
ยาเป๊ป (Post-Exposure Prophylaxis: PEP) หรือ ยาต้านฉุกเฉิน คือ ยาต้านไวรัสที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังจากที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยฉีกขาด หลุดรั่ว การถูกเข็มฉีดยาตำระหว่างปฏิบัติงาน หรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งยาเป๊ป (PEP) สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังจากที่มีความเสี่ยงได้สูงถึง 84-89%
ระยะเวลาที่ควรรับยาเป๊ป (PEP)
ช่วงเวลาในการรับยาเป๊ปคือ ภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่จะดีที่สุดคือ ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
ก่อนเริ่มยาเป๊ป (PEP) มีขั้นตอนอะไรบ้าง?
ผู้ที่สามารถรับยาเป๊ป (PEP) ต้องเป็นผู้ที่มีผลตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV) เป็นลบ ในกรณีที่ผลตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีเป็นบวกจะไม่สามารถรับยาเป๊ปเพื่อป้องกันการติด้เชื้อเอชไอวีได้
ยาเป๊ป (PEP) มีกี่สูตร?
ปัจจุบันยาเป๊ป (PEP) มีหลายสูตร แต่ละสูตรมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเท่ากัน แตกต่างกันที่ผลข้างเคียง ซึ่งส่งผลต่อการกินยาให้ครบ 28 วัน กล่าวคือ ถ้าผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงมากจากการกินยาเป๊ป (PEP) จะทำให้ไม่สามารถกินยาได้ครบตามกำหนด ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีลดลง
สูตรยาเป๊ปที่มีผลข้างเคียงน้อย ได้แก่
- KOCITAF ประกอบด้วยตัวยา 3 ชนิดคือ Tenofovir Alafenamide Fumarate (TAF), Emtricitabine (FTC) และ Dolutegravir (DTG)
- BIKTAVY ประกอบด้วยตัวยา 3 ชนิดคือ Tenofovir Alafenamide Fumarate (TAF), Emtricitabine (FTC) และ Bictegravir (BIC)
ยาเป๊ปทั้ง 2 ชนิด ส่งผลต่อการทำงานของไตและตับน้อยมาก และไม่จำเป็นต้องกินพร้อมอาหาร หรือกินตอนท้องว่างเหมือนสูตรยาอื่น
ผลข้างเคียงของยาเป๊ป (PEP)
ผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการกินยาเป๊ป
- อาการคลื่นไส้อาเจียน
- ปวดศีรษะ
- มึนศีรษะ
- นอนไม่หลับ
อาการส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วง 3-5 วันแรกหลังจากเริ่มกินยา และจะหายไปภายใน 7 วัน ซึ่งผลข้างเคียงของยาเป๊ปจะเกิดมากหรือน้อยขึ้นกับสูตรของยาเป๊ป (PEP)
วิธีการกินยาเป๊ป (PEP)
กินวันละ 1 เม็ด ระยะเวลา 28 วัน
หลังจากกินยาเป๊ป (PEP) ครบแล้วควรทำอย่างไร?
ช่วงที่กินยาเป๊ป (PEP) สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่?
ผู้ที่กินยาเป๊ปยังสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ แต่แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้คนอื่นในช่วงที่กินยาเป๊ป
บริการพิเศษ สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเดินทางมาคลินิก
บริการจัดส่งยาเพร็พ (PrEP)/ยาเป็ป (PEP)
1 ชุด ประกอบไปด้วย
- ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตัวเอง 1 ชุด
- ยาเพร็พ (PrEP) หรือ ยาเป็ป (PEP) 1 กระปุก
หมายเหตุ: แพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงก่อนจัดส่งทุกครั้ง
คำถามที่พบบ่อย Frequent Ask Question (FAQs)
ยาเพร็พ (PrEP) เหมาะกับใคร?
ยาเป๊ป PrEP หรือ Pre-Exposure Prophylaxis เหมาะสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมที่ทำให้มีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีสูง
- ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
โดยเฉพาะผู้ที่เป็นฝ่ายรับทางทวารหนัก
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีโดยไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
การมีคู่นอนหลายคนเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อมากขึ้น
- ผู้ที่ทำงานด้านบริการทางเพศ
ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการให้บริการทางเพศมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
- ผู้ที่มาขอรับบริการ Post-Exposure Prophylaxis (PEP) อยู่เป็นประจำ
หากมีการใช้ PEP อย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณที่แสดงถึงการเสี่ยงที่สูงขึ้นการทานยา PrEP อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเชื้อเอชไอวี
- ผู้ที่ใช้สารเสพย์ติดชนิดฉีด
การใช้สารเสพย์ติดฉีดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากอาจพลาดใช้เข็มร่วมกัน
- ผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
การมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้นยา PrEP อาจเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยาเป๊ป PEP เหมาะกับใคร
ยา PEP เป็นยาที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อหลังได้รับเชื้อสาเหตุของโรคบางชนิด เช่น HIV หรือโรคเอดส์
ยา PEP ถูกใช้ในกรณีที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อในกรณีที่มีการสัมผัสต่อเชื้อสาเหตุร้ายแรง เช่น ผู้ที่ได้รับเลือดหรือสารเหลวที่มีเชื้อจากบุคคลที่ติดเชื้อ หรือมีการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ป้องกัน
เป้าหมายหลักของ PEP คือการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากการสัมผัสเชื้อ แต่มันไม่ได้เป็นวิธีป้องกันที่มั่นคงที่สุด ดังนั้น ควรติดตามคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างเคร่งครัดตามที่แพทย์รักษาแนะนำ
ยา PEP ควรใช้เป็นยาป้องกัน HIV ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เนื่องจากในปัจจุบันการป้องกัน HIV นั้นการเตรียมตัวป้องกันก่อนสัมผัสเชื้อ มีความปลอดภัย และมีอัตราการป้องกันการติดเชื้อที่สูงกว่าการใช้ยา PEP สูงกว่ามาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถุงยางอนามัย หรือแม้กระทั่งยา PrEP ที่เหมาะกับผู้ที่มีแนวโน้มไม่ใช้ถุงยางอนามัยระหว่างการมีเพศสัมพันธ์หรือผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ยาเพร็พ PrEP ป้องกันจากการติดเชื้อเอชไอวีได้มากแค่ไหน?
ยา PrEP มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และต้องทานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด การรับประทาน PrEP ทุกวัน ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพมากถึง 90-99%
การใช้ PrEP ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นได้เหมือนการใช้ถุงยางอนามัยได้ การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการทั้งติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศอื่นๆ