HPV มะเร็งปากมดลูก อาการเป็นแบบไหน สังเกตตัวเองอย่างไร
เชื้อเอชพีวี (HPV) หรือ ไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human Papilloma Virus) คือ เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยเชื้อไวรัสเอชพีวีถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เชื้อเอชพีวีที่ก่อมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งปากทวารหนัก, โรคมะเร็งปากมดลูก กับเชื้อเอชพีวีที่ไม่ก่อมะเร็ง เช่น หูดหงอนไก่ เป็นต้น ดังนั้นการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV จึงเป็นสิ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แม้ว่าเชื้อเอชพีวี (HPV) จะมีหลายสายพันธุ์ที่ก่อโรคได้ แต่จะมีบางสายพันธุ์เท่านั้นที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็ง เชื้อเอชพีวี (HPV) กลุ่มที่ก่อมะเร็งได้แก่ เชื้อเอชพีวี (HPV) 14 สายพันธุ์ ซึ่งมะเร็งที่เป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขคือ มะเร็งปากมดลูก โดยสายพันธุ์ HPV 16 และ HPV 18 เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกถึง 70%
นอกจากนี้เชื้อเอชพีวี (HPV) ยังสามารถก่อให้เกิดมะเร็งชนิดอื่นๆ ได้อีก ได้แก่ มะเร็งที่ช่องคลอด, มะเร็งที่อวัยวะเพศชาย, มะเร็งปากทวารหนัก, มะเร็งที่ช่องคอ, มะเร็งที่ลิ้น หรือมะเร็งที่ต่อมทอนซิล เป็นต้น โดยมะเร็งเหล่านี้มีการดำเนินของโรคหลายสิบปีหลังจากที่ติดเชื้อ HPV จึงทำให้ยากต่อการเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งจากการติดเชื้อเอชพีวี (HPV)
มะเร็งปากมดลูก คืออะไร อาการเป็นอย่างไร
มะเร็งปากมดลูกคือ การเกิดความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ซึ่งสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกคือ การติดเชื้อเอชพีวี (HPV) สายพันธุ์กลุ่มที่ก่อมะเร็ง โดยสายพันธุ์ HPV 16 และ HPV 18 เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกถึง 70% ซึ่งหากไม่รับการตรวจวินิจฉัยและรักษา อาจทำให้เกิดการลุกลามสู่อวัยวะบริเวณใกล้เคียง
อาการที่เกิดจากมะเร็งปากมดลูก
- มีเลือดออกผิดปกติหลังจากมีเพศสัมพันธ์
- มีประจำเดือนมาไม่ปกติ
- มีเลือดออกหลังจากที่หมดประจำเดือนแล้ว
- มีอาการตกขาว มีกลิ่นเหม็น มีเลือดปน
- มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
- มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย อุ้งเชิงกราน
ปัจจัยที่เสี่ยงที่เราไม่รู้ตัว
- การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปาก กับผู้ติดเชื้อเอชพีวี (HPV)
- เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีคู่นอนหลายคน เพราะมีโอกาสสูงขึ้นในการติดเชื้อเอชพีวี (HPV)
- สูบบุหรี่
- มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส, เอดส์ เป็นต้น
- มีบุตรหลายคน
- มีเพศสัมพันธ์เร็ว
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV
ปัจจุบันมีวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี (HPV) ชนิด 4 สายพันธุ์ และ 9 สายพันธุ์ ซึ่งนอกจากจะป้องกันมะเร็งปากมดลูก ยังสามารถป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่บริเวณอวัยเพศได้ด้วย สามารถฉีดได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยประสิทธิภาพอาจลดลงบ้างหากมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว
- วัคซีนแบบ 4 สายพันธุ์สามารถป้องกันได้ถึง 70%
- วัคซีนแบบ 9 สายพันธุ์สามารถป้องกันได้ถึง 90%
- แนะนำให้ฉีดจนครบ 3 เข็ม
- สามารถฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 9 – 45 ปี
- ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ฉีด 2 เข็ม
ข้อดีของการฉีดวัคซีนป้องกัน
- มีประสิทธภาพสูงในการป้องกันเชื้อเอชพีวี (HPV)
- สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
- สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากทวารหนัก
- มีผลข้างเคี้ยงน้อย เช่น อาจมีอาการปวด บวม ตรงตำแหน่งที่ฉีด
ข้อจำกัดของการฉีดวัคซีนป้องกัน
- ไม่สามารถป้องกันเชื้อเอชพีวี (HPV) ได้ครบทุกสายพันธุ์ที่ประกอบอยู่ในวัคซีน หากบุคคลนั้นได้ติดเชื้อเอชพีวี (HPV) มาแล้ว
- มีประสิทธิภาพสูงสุดเฉพาะในผู้ที่ยังไม่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์
- ไม่สามารถป้องกันได้ 100%
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
PSK Clinic
Move Amaze ลาดพร้าว 19
เวลา: 11.00-20.00
โทร: 095-049-4142
Line: @pskclinic